ความท้าทาย Action 61 เปิดประมูล 23 โครงการให้ได้ตามกำหนด

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าจุดสำคัญของโครงการเมกะโปรเจคโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งนั้น อยู่ที่เปิดประมูลเซ็นสัญญา  ล้อมรั้วรื้อย้ายสาธารณูปโภค  อันเป็นจุดเริ่มต้นการก่อสร้าง  เมื่อดำเนินการมาถึงขั้นตอนนี้ถึงพอมั่นใจได้ว่า โครงการนั้นๆ เกิดแน่  มีโอกาสสร้างเสร็จใช้งานจริง  หาก  Action  Plan ยังไม่ถึงขั้นตอนนี้ หลักประกันความสำเร็จมีน้อยมาก  แต่ก่อนถึงขั้นตอนนี้อันเปรียบเสมือน “บทสุดท้าย” หรือ “ตอนจบ” ของโครงการ ย่อมติดตามที่โครงการไหนมีความคืบหน้าในการเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

โครงการเมกะโปรเจคที่ต่อคิวเปิดประมูล

Action  Plan 61 ซึ่งระบุว่า โครงการที่มีโอกาสประกวดราคาแล้วเสร็จ หรือเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปี พ.ศ.2561 จำนวน 23 โครงการ วงเงินการลงทุนรวม 1,107,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่อยู่ใน Action Plan 2559 จำนวน 4 โครงการ ใน Action Plan 2560 จำนวน 17 โครงการ และโครงการใหม่ จำนวน 2 โครงการ  เมื่อแบ่งตามเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ทางราง จำนวน 17 โครงการ  ทางถนน จำนวน 3 โครงการ ทางอากาศ จำนวน 2 โครงการ และโครงการระบบตั๋วร่วม จำนวน 1 โครงการ

งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่มีโอกาสเปิดประมูลในปี 2561  จำนวน 23 โครงการมีดังนี้

1).โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ

2).โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย

3). โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงกะเบา-ชุมทางถนนจิระ

4).โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี

5).โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย

6). โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี

7).โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วง สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่ -สงขลา

8) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์

9).โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม

10).โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วง คู่เด่นชัย-เชียงใหม่

11).โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายใหม่  เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

12)โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่  ช่วงนครปฐม-ชุมพร

13).รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา

14).รถไฟชานเมืองสีแดงเข้มรังสิต-มธ. รังสิต

15).รถไฟชานเมืองสีแดงอ่อน ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา

16).รถไฟเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ

17).รถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ

18).ทางพิเศษพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนฯ 

19).ทางด่วนขั้นที่ 3  ตอน N2 

20).จุดพักรถบรรทุก จ.บุรีรัมย์-ขอนแก่น

21).ท่าอากาศยานขอนแก่น (อาคารผู้โดยสาร)

22).ท่าอากาศยานกระบี่ (ลานจอดรถ/ระบบไฟฟ้า)

23).ระบบตั๋วร่วม

ทั้ง 23 โครงการดังกล่าวมีพื้นที่ก่อสร้างอยู่ทั่วประเทศ ย่อมเปิดโอกาสให้ธุรกิจต่อเนื่องเกี่ยวข้องกับการรับเหมาก่อสร้างมีโอกาสได้รับผลดีทางธุรกิจไม่มากก็น้อย  นอกเหนือจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่เข้าประมูลชนะเซ็นสัญญาก่อสร้างที่ได้รับประโยชน์โดยตรง

โครงการที่รอคิวผ่าน PPP./มติครม.

โครงการที่มีความพร้อมให้คณะกรรมการ Public Private Partnership (PPP) พิจารณาเห็นชอบ หรือคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติภายในปี พ.ศ.2561  รวม 21 โครงการ วงเงินลงทุน 914,000  ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการใน Action Plan 2559 จำนวน 4 โครงการ Action Plan 2560 จำนวน 11 โครงการ และเป็นโครงการใหม่จำนวน 6 โครงการ  แยกเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ทางถนน  10 ทางราง  8 โครงการ ทางน้ำ 2 โครงการ และทางอากาศ 1 โครงการ มีรายชื่อดังนี้

1) โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม

2) โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (ชายแดน 9 จังหวัด)

3) โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (เมืองหลัก 8 จังหวัด)

4). ทางพิเศษกะทู้ –ป่าตอง –ภูเก็ต  

5).มอเตอร์เวย์ทางยกระดับ H35 กรุงเทพฯ – มหาชัย 

6).โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายหาดใหญ่-ชายแดนไทย/มาเลเซีย

7).โครงการก่อสร้าง  มอเตอร์เวย์ นครปฐม-ชะอำ

8).มอเตอร์เวย์ทางยกระดับอุตราภิมุข-รังสิต-บางปะอิน

9).จัดซื้อรถใช้ไฟฟ้า (EV) 35  คัน

10).จัดซื้อรถโดยสาร NGV 489  คัน

11).ระบบขนส่งมวลชน จ.ขอนแก่น

12).ระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา

13).โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน จ.เชียงใหม่ 

14).รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

15).รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน

16).รถไฟชานเมืองสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมาก และสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง

17).รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

18).ระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต

19.พัฒนาธุรกิจท่าเรือบก จ.ขอนแก่น

20.พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังชั้นที่ 3

21).โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul : MRO)

ประเมินแผนปฏิบัติการที่ผ่านๆ มาแล้ว พอตั้งความหวังได้ว่า  ทั้ง  21 โครงการนี้ควรผ่านมติคณะรัฐมนตรีได้เกินครึ่ง เพื่อเดินทางไปสู่การประมูลงานต่อไป

 

อย่างไรก็ตามจุดสำคัญอยู่ที่ผลักดันให้มีการประมูลงานทั้ง 23 โครงการตามที่ Action Plan 61 กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการรถไฟทางคู่ที่หากดำเนินการได้ตาม Action Plan มีทางคู่ทั่วประเทศ และสามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านรอบไทย (ซึ่งใช้รางขนาด 1.00  เมตรเท่านั้น ไม่ต้องเปลี่ยนโบกี้รถไฟ)  รถไฟทางคู่ทั่วประเทศมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการคมนาคมขนส่งระบบรางระหว่างเมือง มีผลดีกับเศรษฐกิจหัวเมืองต่างๆ  ทั้งหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองรอง  ส่งผลดีการค้าขายชายแดนที่สามารถใช้ระบบรางในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน   สร้างเศรษฐกิจ-ธุรกิจให้มีความพร้อมรองรับรถไฟความเร็วสูงที่มีจุดจอดเฉพาะหัวเมืองใหญ่  อันเป็นความเหมาะสมทั้งระยะห่างระหว่างสถานีและความเหมาะสมของจำนวนการใช้บริการ

#