ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว (2561 - 2568)
  • 14 พฤศจิกายน 2018 at 10:28
  • 1259
  • 0

อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่พึ่งพาอาศัยแรงงานอาเซียนมาก  ดังนั้นข่าวสารข้อมูล และความเปลี่ยนแปลงใดๆ  ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานอาเซียนจึงควรติดตาม  ล่าสุดมีข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนครั้งที่ 25

คุ้มครองส่งเสริมสิทธิแรงงานต่างด้าว/ความปลอดภัย-อาชีวอนามัย

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว้นที่  14  พฤศจิกายน 2561 เรื่อง  ขอความเห็นชอบคณะรัฐมนตรีต่อเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนในการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 25 (The 25th ASEAN Labour Minister Meeting : ALMM)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่

1) ร่างแผนปฏิบัติการคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการปฏิบัติให้เป็นไปตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว (2561 - 2568) เพื่อขับเคลื่อนฉันทามติอาเซียน

และ 2) ร่างแนวคิดริเริ่มเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN Occupational Safety and Health Network : ASEAN - OSHNET) เพื่อขับเคลื่อนแถลงการณ์ของรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนในการปรับปรุงความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ข้างต้น

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างเอกสารผลลัพธ์ของรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน จำนวน 2 ฉบับ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงแรงงานสามารถดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย

แผนปฏิบัติการหลัก

แผนปฏิบัติการหลักมี 2 แผน ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานรายงานว่าการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 25 กำหนดจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2561 ณ ประเทศมาเลเซีย และที่ประชุมฯ จะมีการรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. ร่างแผนปฏิบัติการคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการปฏิบัติให้เป็นไปตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว (2561 - 2568) เพื่อขับเคลื่อนฉันทามติอาเซียน  มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนฉันทามติอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าวที่มีการลงนามรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 31 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 รับทราบผลการประชุมดังกล่าวแล้ว โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อน 5 ด้าน ได้แก่

1) การศึกษา/ข้อมูลข่าวสาร

2) การคุ้มครอง

3) การบังคับใช้กฎหมาย

4) การขอความช่วยเหลือ

และ 5) การคืนสู่สังคม

ร่างแผนปฏิบัติการฯ กำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนระบุโครงการต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวอย่างน้อย 1 โครงการ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดโครงการต่าง ๆ เช่น การศึกษาเรื่องความสามารถในการรองรับการเคลื่อนย้าย สิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

2. ร่างแนวคิดริเริ่ม ASEAN-OSHNET เพื่อขับเคลื่อนแถลงการณ์ของรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนในการปรับปรุงความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เป็นเอกสารแนวคิด เพื่อขับเคลื่อนแถลงการณ์รัฐมนตรีแรงงานอาเซียนในการปรับปรุงความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ให้ความเห็นชอบต่อถ้อยแถลงรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนฯ โดย รง. ได้ร่วมลงนามรับรองในที่ประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนวาระพิเศษด้านความปลอดภัยและ อาชีวอนามัย เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2560 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์

สำหรับร่างแนวคิดริเริ่มฯ ประกอบด้วยมาตรการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องดำเนินการ โดยได้กำหนดประเทศผู้ประสานงานและระยะเวลาดำเนินการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการภายใต้แถลงการณ์รัฐมนตรีแรงงานอาเซียนฯ (เช่น มาตรการยกระดับมาตรฐาน

ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยพัฒนาและทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น) รวมถึงโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการ ASEAN – OSHNET ค.ศ. 2016 – 2020 (เช่น การรวบรวมข้อมูลประจำปีโครงการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศอาเซียน ทั้งนี้ ให้แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนต้องส่งสรุปผลการดำเนินงานประจำปี เพื่อเผยแพร่ลงเว็บไซต์ ASEAN – OSHNET โดยมี ASEAN – OSHNET Secretariat เป็นผู้ประสานงาน ระยะดำเนินการ ค.ศ. 2016 – 2020 เป็นต้น) 

 

ขยายความ

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นอีกหนึ่งประเภทธุรกิจที่ต้องเตรียมตัวเตรียมการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใดๆ  ที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  สถานประกอบการหรือไซต์งานก่อสร้างในแต่ละพื้นที่ต้องจัดหน้าที่ให้ติดตามข้อมูลรายละเอียดในแง่มุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ   ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งการทำงานตามวาระปกติ  และการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ระหว่างประเทศ รวมทั้งเรื่อง “ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว (2561 - 2568)”   ทั้งนี้จากข้อมูลและบทเรียนต่างๆ  ในอดีต ทำให้จดจำได้ว่า  ความเข้มข้น และรายละเอียดจากการทำงานที่เกี่ยวพันกับแรงงานต่างด้าวนั้น ยังไม่สม่ำเสม

ต้องทำถูกกฎหมายต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อง

ต้องเกาะติด เข้าถึงและติดตามความเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และความเปลี่ยนแปลงใดๆ  ที่มีผลต่อความเข้มข้นในการทำงานนั้นๆ

ทางกลยุทธ์การบริหารจัดการคือ  บริหารทางหนีทีไล่  การวิเคราะห์ SWOT คือ  ต้องเข้าใจว่าความเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางระเบียบกฎหมายต่างๆ  สร้างอุปสรรคใหม่ (หรือสร้างโอกาสใหม่”  ได้เสมอ)

#