วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ฉลอง 74 ปีของการก่อตั้ง เตรียมจัดงานใหญ่เพื่อสังคมคือ งานวิศวกรรมแห่งชาติ 2560 หรือ National Engineering 2017 กำหนดจัด 16 - 18 พ.ย. 2560 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชวนคนไทยตื่นตัวและวิศวกรไทยเตรียมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 เปิดแนวคิดใหม่และแสดงผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมมุ่งยกระดับวิศวกรรมของประเทศไทยสู่ Engineering 4.0  ภายในงานนี้ยังได้จัด เวทีเสวนา เรื่อง อนาคต Thailand 4.0 ภายใต้การลงทุน EEC สำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S curve)” อีกด้วย

          ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า เมกะเทรนด์ของโลกกำลังมีการปฏิรูปพัฒนาอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เนื่องจากกระแสดิจิตอล ระบบคลาวด์ออโตเมชั่นและ IoT ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิต คุณภาพ ประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน ประเทศไทยมุ่งพัฒนาสู่เป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ ในด้านวิศวกรรมซึ่งผสมผสานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายสาขาก็เช่นกัน จะต้องยกระดับเป็น “Engineering 4.0” คนไทยจะหยุดนิ่งไม่ได้ ต่างต้องเรียนรู้ ปรับตัวและเตรียมพร้อม เพื่อใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี มาพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แสวงหาโอกาสและโมเดลทำธุรกิจใหม่ๆที่ตอบโจทย์ตลาดผู้บริโภค และไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวันที่สะดวกและปลอดภัย  จึงเป็นที่มาของการจัด งานวิศวกรรมแห่งชาติ 2560 ภายใต้แนวคิด วิศวกรรม 4.0 หรือ Engineering 4.0 เพื่อส่งเสริมคนไทยทุกเพศวัยให้ตื่นตัวก้าวไปกับวิถีไทยแลนด์ 4.0 เสริมศักยภาพวิศวกรไทยและสตาร์ทอัพให้เติบโต ทั้งในด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมและกฎระเบียบต่างๆ เปิดโลกอนาคตสำหรับเยาวชน ประชาชนและครอบครัวยุคใหม่ที่ทันสมัย ปลอดภัยและมีความสุขกับวิถีอนาค

          นายทศพร ศรีเอี่ยม ประธานการจัดงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2560 เผยว่า ไฮไลต์งาน “วิศวกรรมแห่งชาติ 2560” (National Engineering 2017) เปิดมุมมองภูมิทัศน์ใหม่ทางเทคโนโลยีนวัตกรรมเปลี่ยนโลกและการเชื่อมต่อเครือข่ายที่จะตอบสนอง Industry 4.0 และ Thailand 4.0 เรียนรู้ไปกับนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในปัจจุบัน  พัฒนาการบริหารจัดการและไลน์การผลิตสำหรับผู้ประกอบการในทุกระดับ เวทีมุมมองความคิดใหม่ๆสำหรับวิศวกรและผู้สนใจ เช่น การออกแบบวิศวกรรมในกระแส IoT : Internet of Things,อุตสาหกรรม 4.0, การขนส่ง 4.0, รหัสต้นทุนงานอาคาร (Cost Code for BIM), มาตรฐานการทำงานระบบ BIM, รวมพลคนตรวจสอบความปลอดภัยครั้งที่ 2, อินเตอร์เน็ตออฟธิงค์สำหรับสมาร์ทซิตี้, Digital technology for SME 4.0 เป็นต้น สำหรับครอบครัวและประชาชนทั่วไป ยังสามารถเข้ามาเรียนรู้นวัตกรรมใหม่สำหรับบ้านทันสมัยยุค 4.0  อีกทั้งยังเปิดบริการฟรี "คลินิกช่าง" ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบ้านและปัญหาทางวิศวกรรมต่าง ๆ โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ตื่นตาตื่นใจกับการแข่งขันกลไกอัจฉริยะ การแข่งขันโดรนดับเพลิง และอีกมากมาย

          อีกหนึ่งความพิเศษของงานปีนี้ วสท.ได้รับเกียรติจากสมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน (AFEO) ให้เป็นเจ้าภาพในนามประเทศไทยจั งานประชุมนานาชาติสมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน หรือ CAFEO ครั้งที่ 35 (Conference of the ASEAN Federation of Engineering Organizations) ภายใต้ธีม “การบริหารจัดการพลังงาน” ซึ่งจะจัดคู่ขนานกับงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2560 โดยมีผู้นำองค์กร ผู้บริหารและวิศวกรชั้นนำกว่า 1,500 คน จาก 10 ประเทศในอาเซียนเดินทางมาร่วมประชุมที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยี และกำหนดทิศทางวิศวกรรมในอนาคตของอาเซียน พร้อมทั้งผนึกความร่วมมือของเครือข่ายวิศวกรรมและผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศอาเซียน

 

           ภายในงานแถลงข่าวยังได้จัด เวทีเสวนา เรื่อง อนาคต Thailand 4.0 ภายใต้การลงทุน EEC สำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S curve)”  โดยได้รับเกียรติจาก 3 ท่าน ได้แก่ รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) และคณะทำงานสนับสนุนโครงการระเบียบเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)คุณดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน, คุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

          รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) และคณะทำงานสนับสนุนโครงการระเบียบเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)  กล่าวว่า โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC รัฐบาลได้ประกาศเมื่อต้นปี 2560 โดยเป็นแผนยุทธศาสตร์ประเทศภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 มีเป้าหมายยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ให้กลายเป็น “World-Class Economic Zone” รองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster และอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอีก 20 ปีข้างหน้า มีเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ถือเป็นแม่เหล็กหรือสปริงบอร์ดในการขับเคลื่อนการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีโครงการลงทุนใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา, การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3, โครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา), การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมไฮเทค และการพัฒนา 3 เมืองใหม่ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง มุ่งยกระดับเมือง ชุมชน คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมสู่ระดับมาตรฐานสากล ตอนนี้รัฐบาลออกกฎหมายเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่ดังกล่าว และทั้งหมดได้ถูกบรรจุไว้ในแผนงบประมาณแล้ว แนวโน้มและท่าทีของต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนถือว่าดีมาก ทั้งนี้การพัฒนาอีอีซีจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน และทุกภาคส่วนต้องปรับตัว ภาครัฐ ภาคเอกชนต้องร่วมมือกันในการถ่ายโอนเทคโนโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งรัฐบาลก็ให้การสนับสนุนหลายอุตสาหกรรม เช่น การลงทุนด้าน Industrial Automation และ Robotics ซึ่งผู้ที่ลงทุนด้านนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์การลงทุน คาดว่าภายใน 5 ปี เฉลี่ยแล้วจะมีการลงทุนราว 200,000 ล้านบาท ตลอดจนศักยภาพของ EEC สามารถมุ่งสู่ความมั่งคั่งและเติบโตด้านการลงทุนไปพร้อมกับการขยายตัวของเมืองและความต้องการของตลาด ASEAN ได้เป็นอย่างดี

 

  

 

 

คุณดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน

 

            คุณดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน กล่าวว่า อุตสาหกรรมการบิน อยู่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ประเทศไทยมีความเข้มแข็งด้านการบินอย่างมาก กรมท่าอากาศยานดูแลรับผิดชอบท่าอากาศยานทั้งหมด 28 แห่ง ทั่วประเทศ แนวโน้มท่าอากาศยานตามภูมิภาคต่างๆกำลังขยายตัวจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น โดยจะเน้นที่นักท่องเที่ยวตามภูมิภาค กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เช่น แหล่งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว อีกไม่นานสาธารณูปโภคก็จะมีความพร้อมมากขึ้น จะเห็นได้ว่าในปีที่ผ่านมา สายการบิน Low Cost บุกตลาดมากขึ้น สร้างรายได้อย่างมากมาย โดยปี 2558 มีนักท่องเที่ยวใช้บริการ 6.5 ล้านคน ส่วนปี 2559 เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 17.2 ล้านคน ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีมีแผนสร้างโรงงานการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินในประเทศไทย ขณะนี้ไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านการบิน จึงต้องเร่งพัฒนาและสร้างบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เช่น ครูการบิน ช่างเครื่อง ช่างซ่อม โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC จะทำให้อุตสาหกรรมการบินของไทย และซัพพลายเชนได้รับประโยชน์หลายฝ่าย อาทิ สายการบินต่างๆ, ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดต้นทุนการส่งสินค้าลง จะทำให้ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ปัจจัยที่จะทำให้ไทยเป็น ฮับอุตสาหกรรมการบินได้อย่างยั่งยืน คือ โครงสร้างการท่องเที่ยว การคมนาคม กฎหมายการบิน การเปิดเสรีด้านการบิน และการเติบโตเข้มแข็งของภูมิภาคอาเซียน

 

 

คุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

           นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาในพื้นที่อีอีซีต้องเน้นที่อุตสาหกรรมชั้นสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ ผลักดันส่งเสริมการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย First S-curve ต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ  3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4. การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ  5.อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และ New S-curve  การเติม 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 2.อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 3.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 4.อุตสาหกรรมดิจิตอล  5.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งเป็นการลงทุนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างแท้จริง ต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกัน ขณะที่ยุทธศาสตร์ภาพใหญ่ระดับประเทศไทย สิ่งที่จะต้องเร่งผลักดันคือ การเป็นฮับทางด้านการบินในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากไทยตั้งอยู่ศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียนเปรียบเหมือนกับการตั้งอยู่บนถนนใหญ่ ขณะที่หลายประเทศอยู่ในซอย เราสามารถเชื่อมต่อจากฮับการบินเข้ากับอุตสาหกรรมอื่นได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว โรงแรม อาหาร การดูแลรักษาสุขภาพ เป็นต้น เห็นได้ว่าวิศวกรรมนั้นมีบทบาทสำคัญมากต่อการพัฒนาประเทศสู่ยุค 4.0 ทั้งมาตรฐานการทำงานและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคน ซึ่งวิศวกรรุ่นใหม่มีความใกล้ชิดกับเทคโนโลยีอยู่แล้ว แต่ก็ต้องปรับตัวเตรียมพร้อมพัฒนาทักษะ 4.0 และประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อการก้าวสู่ Engineering 4.0 ต่อไป

 

 

ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

           ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เผยข้อคิดเห็นว่า  วิศวกร ควรจะศึกษาเรียนรู้และนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้อย่างเหมาะสม  เข้าอบรมสัมมนาเพื่ออัพเดตตนเองกับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะกระแสหลักอย่างเช่น ระบบอัตโนมัติ ดิจิทัล การบริหารจัดการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ด้านผู้ประกอบการและองค์กรต่างๆ ควรส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ขยายความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร และซัพพลายเชนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน ส่วนสถาบันการศึกษาทั้งระดับ ปวช., ปวส, มหาวิทยาลัย ควรศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตรให้สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน แนวโน้มเทคโนโลยีและการพัฒนาประเทศ เช่น EEC, Industry 4.0, อุตสาหกรรม First S Curve และ New S Curve ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยและใช้พหุศาสตร์ แสวงหาความร่วมมือจากภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในการฝึกงานของนักศึกษา การเรียนการสอนควรให้ความสำคัญกับวิชาการควบคู่กับทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน

 

ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวถึงที่มาการจัดงาน

        งานวิศวกรรมแห่งชาติ 2560 ที่จะจัด  16-18 พ.ย. นี้

 

นายทศพร ศรีเอี่ยม ประธานการจัดงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2560 กล่าวถึงไฮไลต์ของงานงานวิศวกรรมแห่งชาติ

         2560 ที่จะจัดในวันที่ 16-18 พ.ย. นี้

 

ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วสท.เป็นประธานพิธีเปิดตัวประชาสัมพันธ์การเตรียมจัดงาน วิศวกรรมแห่งชาติ 2560

         ที่จะจัดในวันที่ 16-18 พ.ย. นี้ พร้อมด้วยบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากวงการวิศวกรรม อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

 

เวทีเสวนา เรื่อง อนาคต Thailand 4.0 ภายใต้การลงทุน EEC สำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New

          S curve)” (จากซ้ายไปขวา) โดย ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วสท., คุณดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน,

       

 

รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) และคณะทำงานสนับสนุนโครงการ ระเบียบเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

 

 

 

 

พลังภาครัฐและเอกชนร่วมจัดงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2560 เพื่อประโยฃน์ต่อสังคมและประชาช

 

บรรยากาศงาน มีองค์กรต่างๆจากวงการวิศวกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ธุรกิจอุตสาหกรรม และภาครัฐ-เอกชนมาร่วมงาน