บริษัท OSAKA GAS (TOKYO: 9532) จำกัด ร่วมกับบริษัท Agriculture of Basin Company Limited ("ABC") บริษัทของประเทศไทย เปิดตัวโครงการนำร่องในประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2017 เพื่อหยั่งเชิงความเป็นไปได้ในการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้กับยานพาหนะ โดยการขจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสิ่งสกปรกอื่น ๆ จากก๊าซชีวภาพอย่างต่อเนื่อง และกลั่นให้เป็นก๊าซมีเทนความบริสุทธิ์สูง ซึ่งเป็นการตระหนักถึงการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีคุณลักษณะเป็นมัลติมีเดีย ดูฉบับเต็มได้ที่นี่: http://www.businesswire.com/news/home/20171126005071/en/

 

Pilot Biogas Refining Facility (Photo: Business Wire)

โรงกลั่นน้ำมันก๊าซธรรมชาติ (รูปภาพ: Business Wire)

ในโครงการนำร่องครั้งนี้*1  ในฐานะโรงงานน้ำมันปาล์ม บริษัท ABC จะย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในโรงงานผลิตน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งจะถูกกลั่นโดยบริษัท OSAKA GAS ให้กลายเป็นก๊าซมีเทน บริษัท ABC จะใช้ก๊าซมีเทน*2 ที่กลั่นแล้วเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซธรรมชาติของตน โครงการนำร่องนี้มีกำหนดจะใช้เวลาประมาณหนึ่งปี โดยในระหว่างนั้นในบริษัท OSAKA GAS จะทดสอบการผลิตโรงกลั่นก๊าซชีวภาพขนาด 250 Nm3 / ชั่วโมง ที่จะถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์ต่อไป โครงการจะมุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบการใช้งานที่มีเสถียรภาพเป็นเวลานานและการลดต้นทุนในการผลิตก๊าซมีเทน รวมทั้งการกำหนดประสิทธิภาพของก๊าซมีเทนที่ผลิตที่ผลิตเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงรถ จากผลการทดสอบนำร่องเบื้องต้นบริษัท ABC จะดำเนินการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพที่ผลิตจากโรงงานเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัท OSAKA GAS ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีการกลั่นก๊าซชีวภาพตั้งแต่ปี 2012 เพื่อแสวงหาก๊าซชีวภาพที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และเพื่อช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม บริษัทมีความสามารถในการผลิตก๊าซมีเทนที่มีความบริสุทธิ์สูง และที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในโลกในการกู้คืนก๊าซมีเทนในอัตรามากกว่า 99%*3 ซึ่งทำได้โดยการใช้ระบบกลั่นก๊าซชีวภาพแบบไฮบริด*4  ซึ่งรวมเอาวิธีการแยกเมมเบรนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เข้ากับกับการดูดซับแบบสลับความดัน, PSA (Pressure Swing Adsorption) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยดูดซับและแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากอุตสาหกรรมเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังนั้นจึงมีทรัพยากรชีวภาพอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงกากปาล์ม เศษเหลือของอ้อยบดเพื่อแยกน้ำอ้อย และน้ำเสียจากโรงงานผลิตอาหาร รถยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย บริษัท OSAKA GAS ตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการนำร่องนี้ในประเทศไทยโดยอาศัยความเชื่อมั่นในศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้ระบบการกลั่นไฮบริดบำบัดที่มีเอกลักษณ์พิเศษ เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภายใต้วิสัยทัศน์ทางธุรกิจระยะยาวในหัวข้อ "Going Forward Beyond Borders 2030 หรือ ก้าวไกลเกินพรมแดน 2030" บริษัทOSAKA GAS ได้กำหนดเป้าหมายในการขยายธุรกิจพลังงานในต่างประเทศ และบริษัท OSAKA GAS (ประทเศไทย) จำกัดได้ริเริ่มโครงการพลังงานและระบบโคเจนเนอเรชั่นแล้ว บริษัท OSAKA GAS มุ่งมั่นที่จะผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยการนำโครงการนำร่องนี้ไปขยายโครงการด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใช้ทรัพยากรชีวมวลอย่างมีประสิทธิภาพ

 

*1:

 

บริษัท OSAKA GAS (ประเทศไทย) จำกัด. ซึ่งเป็น บริษัท ในเครือของบริษัท OSAKA GAS รับผิดชอบในการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการทดสอบนำร่อง อีกทั้งยังวางแผนที่จะให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นในช่วงระยะเวลาการทดสอบนำร่อง

*2:

 

เพื่อการนำไปดำเนินการหลังจากได้รับการยืนยันว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทย บริษัท OSAKA GAS(ประเทศไทย) จำกัด

*3:

 

ร้อยละมีเทนในก๊าซมีเทนมีความบริสุทธิ์สูงเมื่อเทียบกับก๊าซมีเทนของก๊าซชีวภาพในวัตถุดิบที่ดิบ

*4:

 

ระบบที่ผสมผสาน PSA ซึ่งสกัดก๊าซมีเทนจากก๊าซชีวภาพโดยใช้ตัวดูดซับที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แบบแยกออกมา พร้อมกับเมมเบรนแยกซึ่งสามารถกู้ก๊าซมีเทนได้โดยการกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจาก PSA การใช้ PSA ในการปรับก๊าซมีเทนที่มีความบริสุทธิ์สูง ในขณะเดียวกันก็รีไซเคิลก๊าซที่ออกมา มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการฟื้นตัวของก๊าซมีเทนอยู่ที่ 99% หรือดีกว่าซึ่งเป็นระดับสูงสุดในโลก